10 วิธี การทำบุญ หรือ ทำบุญอย่างไร? วิธีการทำบุญ หนทางแห่งการทำบุญ การทำบุญด้วยอาการ 10 อย่าง เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ 10

วิธีทำบุญยังมีอีก 10 วิธี

ท่านเรียกว่าบุญกิริยาวัตถุ ๑๐




ปุญฺญ ( ความดี ,เครื่องชำระสันดานให้สะอาด ) + กิริยา ( การกระทำ ) + วตฺถุ ( ที่ตั้ง ) เมื่อรวมความแล้วคือ

ที่ตั้งแห่งการกระทำความดี  ๑๐  อย่าง    ซึ่งหมายถึงว่า  เป็นกุศลจิตที่มีกำลังจนทำให้มีการกระทำออกมาทางกาย  วาจา หรือทางใจ  ได้แก่ 


๑.  ทานมัย      บุญสำเร็จจากการให้วัตถุเพื่อสงเคราะห์หรือบูชาแก่ผู้อื่น


๒.  ศีลมัย        บุญสำเร็จจากการงดเว้นจากทุจริต หรือประพฤติสุจริต  ทางกาย  วาจา


๓.  ภาวนามัย  บุญสำเร็จจากการอบรมจิตให้สงบจากกิเลส (สมถ) และการอบรมปัญญาเพื่อละกิเลสทั้งปวง(วิปัสสนา)


๔.  อปจายะนะมัย    บุญสำเร็จจากการประพฤติอ่อนน้อมถ่อมตน


๕.  เวยยาวัจจะมัย   บุญสำเร็จจากการขวนขวายบำเพ็ญประโยชน์ต่อผู้อื่น


๖.  ปัตติทานมัย    บุญสำเร็จจากการให้ส่วนบุญที่ได้บำเพ็ญมาแล้ว


๗.  ปัตตานุโมทนามัย     บุญสำเร็จจากการยินดีในกุศลที่ผู้อื่นได้กระทำแล้ว


๘.  ธัมมัสสวนมัย   บุญสำเร็จจากการฟังพระสัทธรรม


๙.  ธัมมเทสนามัย  บุญสำเร็จจากการแสดงพระสัทธรรม


๑๐. ทิฏฐุชุกรรม     การกระทำความเห็นให้ตรงถูกต้องตามความเป็นจริง

บุญกิริยาวัตถุ  ๑๐  ย่อสงเคราะห์ลงเหลือบุญกิริยาวัตถุ  ๓  คือ  ทานมัย  ศีลมัย  และภาวนามัย  ก็ได้  


เพราะ ปัตติทานมัยและปัตตานุโมนามัย  เกี่ยวเนื่องอยู่กับเรื่องของการให้                จึงสงเคราะห์เป็นทานมัย      


ส่วน อปจายนะมัยและเวยยาวัจจะมัยเกี่ยวข้องกับการประพฤติทางกาย  และทางวาจา   จึงสงเคราะห์เป็นศีลมัย   


ธัมมัสสวนะมัยและธัมมเทสนามัยก็เป็นเหตุ ให้เกิดสติปัญญา                              จึงสงเคราะห์เป็นภาวนามัย 


ส่วนทิฏฐุชุกรรมสงเคราะห์ ได้ทั้งเรื่องทาน  เรื่องศีล  และภาวนา    เพราะเมื่อมีความเห็นตรง เห็นถูกต้องตามเป็นจริงแล้ว  ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดกุศลขั้นอื่นให้เจริญไพบูลย์  และมีผลานิสงส์มาก