ฝึกสติให้มีที่ตั้ง ฝึกที่ตั้งให้สติ ด้วยสติปัฏฐาน4 ผลานิสงค์ที่ยิ่งใหญ่จากการฝึกสติ


เอวัมเม สุตัง เอกัง สะมะยัง ภะคะวา กุรูสุ วิหะระติ
กัมมาสะธัมมัง นามะ กุรูนัง นิคะโม ตัต๎ระ โข ภะคะวา
ภิกขู อามันเตสิ ภิกขะโวติ ภะทันเตติ เต ภิกขู ภะคะวะโต
ปัจจัสโสสุง ภะคะวา เอตะทะโวจะ


เอกายะโน อะยัง ภิกขะเว มัคโค สัมมะทักขาโต 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางไปอันเอก (เป็นที่ไปของบุคคลผู้เดียว เป็นที่ไปแห่งเดียว) 

สัตตานัง วิสุทธิยา 
เพื่อความบริสุทธิ์ หมดจดของสัตว์ทั้งหลาย 

โสกะปะริเทวานัง สะมะติกกะมายะ 
เพื่อความก้าวล่วง ซึ่งความโศก และความร่ำไรรำพัน 

ทุกขะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมายะ 
เพื่อความดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส (ความเสียใจ ทุกข์ใจ) 

ญายัสสะ อธิคะมายะ 
เพื่อบรรลุธรรมที่ควรรู้ (ธรรมที่ถูก คือ อริยมรรค) 

นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ 
เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง 

ยะทิทัง จัตตาโร สะติปัฏฐานา 
ทางนี้ คือ สติปัฏฐาน (ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ) มี 4 อย่าง 

กะตะเม จัตตาโรฯ 
ก็สติปัฏฐาน 4 อย่างนั้น คืออะไรบ้าง 

อิธะ ภิกขะเว ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ 
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ 

อาตาปี สัมปะชาโน สติมา 
มีความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน มีสัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัว มีสติ คือ ความระลึกได้ 

วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง 
พึงนำอภิชฌา คือ ความยินดี และโทมนัส คือ ความยินร้าย ในโลกเสียให้พินาศ 

เวทะนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ 
เธอย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนือง ๆ อยู่ 

อาตาปี สัมปะชาโน สติมา 
มีความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน มีสัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัว มีสติ คือ ความระลึกได้ 

วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง 
พึงนำอภิชฌา คือ ความยินดี และโทมนัส คือ ความยินร้าย ในโลกเสียให้พินาศ 

จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ 
เธอย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนือง ๆ อยู่ 

อาตาปี สัมปะชาโน สติมา 
มีความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน มีสัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัว มีสติ คือ ความระลึกได้ 

วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง 
พึงนำอภิชฌา คือ ความยินดี และโทมนัส คือ ความยินร้าย ในโลกเสียให้พินาศ 

ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ 
เธอย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนือง ๆ อยู่ 

อาตาปี สัมปะชาโน สติมา 
มีความเพียรเผากิเลสให้เร่าร้อน มีสัมปชัญญะ คือ ความรู้สึกตัว มีสติ คือ ความระลึกได้ 

วิเนยยะ โลเก อะภิชฌาโทมะนัสสัง 
พึงนำอภิชฌา คือ ความยินดี และโทมนัส คือ ความยินร้าย ในโลกเสียให้พินาศ 



* กะถัญจะ ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ 
ภิกษุย่อมพิจารณา เห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่เป็นอย่างไรเล่า 

อิธะ ภิกขุ อัชฌัตตัง วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ 
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย อันเป็นภายในบ้าง 

พะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ 
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย อันเป็นภายนอกบ้าง 

อัชฌัตตะพะหิทธา วา กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ 
ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในภายนอกบ้าง 

สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา กายัสมิง วิหะระติ 
ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในกายบ้าง 

วะยะธัมมานุปัสสี วา กายัสมิง วิหะระติ 
ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไปในกายบ้าง 

สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา กายัสมิง วิหะระติ 
ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง 

อัตถิ กาโยติ วา ปะนัสสะ สะติปัจจุปัฏฐิตา โหติ 
ก็หรือการระลึกว่ากายมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น 

ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะฏิสสะติมัตตายะ 
แต่เพียงสักว่าเป็นที่ให้เกิดความหยั่งรู้ (ญาณ) แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก (สติ) เท่านั้น 

อะนิสสิโต จะ วิหะระติ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ 
ที่แท้แล้วตัณหาและทิฏฐิย่อมไม่อาจอาศัยเกิดที่ใจของเธอได้ เธอย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย 

เอวัง โข ภิกขุ กาเย กายานุปัสสี วิหะระติ 
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ เป็นดังนี้ 


* กะถัญจะ ภิกขุ เวทนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ 
ภิกษุย่อมพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาเนือง ๆ อยู่เป็นอย่างไรเล่า 

อิธะ ภิกขุ อัชฌัตตัง วา เวทนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ 
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา อันเป็นภายในบ้าง 

พะหิทธา วา เวทนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ 
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอันเป็นภายนอกบ้าง 

อัชฌัตตะพะหิทธา วา เวทนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ 
ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ทั้งภายในภายนอกบ้าง 

สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา เวทะนาสุ วิหะระติ 
ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นของเวทนา (ความรู้สึก) บ้าง 

วะยะธัมมานุปัสสี วา เวทนาสุ วิหะระติ 
ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อมไปของเวทนา (ความรู้สึก) บ้าง 

สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา เวทนาสุ วิหะระติ 
ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมไปของเวทนาบ้าง 

อัตถิ เวทะนาติ วา ปะนัสสะ สะติปัจจุปัฏฐิตา โหติ 
ก็หรือการระลึกว่า ความรู้สึก (เวทนา) มีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น 

ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะฏิสสะติมัตตายะ 
แต่เพียงสักว่าเป็นที่ให้เกิดความหยั่งรู้ (ญาณ) แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก (สติ) เท่านั้น 

อะนิสสิโต จะ วิหะระติ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ 
ที่แท้แล้วตัณหาและทิฏฐิย่อมไม่อาจอาศัยเกิดที่ใจของเธอได้ เธอย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย 

เอวัง โข ภิกขุ เวทนาสุ เวทะนานุปัสสี วิหะระติ 
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนือง ๆ อยู่ เป็นดังนี้ 

* กะถัญจะ ภิกขุ จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ 
ภิกษุย่อมพิจารณา เห็นจิตในจิตเนือง ๆ อยู่เป็นอย่างไรเล่า 

อิธะ ภิกขุ อัชฌัตตัง วา จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ 
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต อันเป็นภายในบ้าง 

พะหิทธา วา จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ 
ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอันเป็นภายนอกบ้าง 

อัชฌัตตะพะหิทธา วา จิตเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ 
ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิต ทั้งภายในภายนอกบ้าง 

สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา จิตัสมิง วิหะระติ 
ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง 

วะยะธัมมานุปัสสี วา จิตัสมิง วิหะระติ 
ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อม-ดับไปของจิตบ้าง 

สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา จิตัสมิง วิหะระติ 
ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือทั้งความเกิดขึ้นและความดับไปของเวทนาบ้าง 

อัตถิ จิตตันติ วา ปะนัสสะ สะติปัจจุปัฏฐิตา โหติ 
ก็หรือสติการระลึกว่าจิตมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น 

ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะฏิสสะติมัตตายะ 
แต่เพียงสักว่าเป็นที่ให้เกิดความหยั่งรู้ (ญาณ) แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก (สติ) เท่านั้น 

อะนิสสิโต จะ วิหะระติ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ 
ที่แท้แล้วตัณหาและทิฏฐิย่อมไม่อาจอาศัยเกิดที่ใจของเธอได้ เธอย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย 

เอวัง โข ภิกขุ จิเต จิตตานุปัสสี วิหะระติ 
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตเนือง ๆ อยู่ เป็นดังนี้ 


* กะถัญจะ ภิกขุ ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ 
ภิกษุย่อมพิจารณา เห็นธรรมในธรรมเนือง ๆ อยู่เป็นอย่างไรเล่า 

อิธะ ภิกขุ อัชฌัตตัง วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ 
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม อันเป็นภายในบ้าง 

พะหิทธา วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ 
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม อันเป็นภายนอกบ้าง 

อัชฌัตตะพะหิทธา วา ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ 
ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรม อันเป็นทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง 

สะมุทะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ 
ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือความเกิดขึ้นของธรรมบ้าง 

วะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ 
ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือความเสื่อม-ดับไปของธรรมบ้าง 

สะมุทะยะวะยะธัมมานุปัสสี วา ธัมเมสุ วิหะระติ 
ย่อมพิจารณาเห็นธรรม คือทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อม-ดับไปของธรรมบ้าง 

อัตถิ ธัมมาติ วา ปะนัสสะ สะติปัจจุปัฏฐิตา โหติ 
ก็หรือสติการระลึกว่าธรรมมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น 

ยาวะเทวะ ญาณะมัตตายะ ปะฏิสสะติมัตตายะ 
แต่เพียงสักว่าเป็นที่ให้เกิดความหยั่งรู้ (ญาณ) แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก (สติ) เท่านั้น 

อะนิสสิโต จะ วิหะระติ นะ จะ กิญจิ โลเก อุปาทิยะติ 
ที่แท้แล้วตัณหาและทิฏฐิย่อมไม่อาจอาศัยเกิดที่ใจของเธอได้ เธอย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย 

เอวัง โข ภิกขุ ธัมเมสุ ธัมมานุปัสสี วิหะระติ 
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมเนือง ๆ อยู่ เป็นดังนี้ 


* อะยัง โข เตนะ ภะคะวะตา ชานะตา ปัสสะตา อะระหะตาสัมมาสัมพุทเธนะ 
อันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้รู้ ผู้เป็นอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสไว้ว่า 

เอกายะโน มัคโค สัมมะทักขาโต 
ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นทางสายเดียว เป็นทางไปอันเอก 

สัตตานัง วิสุทธิยา 
เพื่อความบริสุทธิ์หมดจด ของสัตว์ทั้งหลาย 

โสกะปะริเทวานัง สะมะติกกะมายะ 
เพื่อความก้าวล่วงเสีย ซึ่งความโศกและความร่ำไรรำพัน 

ทุกขะโทมะนัสสานัง อัตถังคะมายะ 
เพื่อความดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส (เสียใจ) 

ญายัสสะ อะธิคะมายะ 
เพื่อบรรลุธรรมที่ควรรู้ (อริยมรรค-อริยผล) 

นิพพานัสสะ สัจฉิกิริยายะ 
เพื่อกระทำพระนิพพานให้แจ้ง 

ยะทิทัง จัตตาโร สะติปัฏฐานาติ 
ทางนี้คือ สติปัฏฐาน 4 (ฐานที่ตั้งแห่งการระลึกรู้ คือ สติ มี 4 อย่าง) 


* เอกายะนัง ชาติชะยันตะทัสสี 
พระพุทธเจ้าผู้ทรงมีปกติเห็นที่สุดแห่งการเวียนเกิดเวียนตาย 

มัคคัง ปะชานาติ หิตานุกัมปิ 
ผู้ทรงมีความอนุเคราะห์เกื้อกูล ทรงรู้แจ้งชัดทางอันเอกที่มุ่งสู่ความพ้นทุกข์ 

เอเตนะ มัคเคนะ ตะริงสุ ปุพเพ 
พระพุทธเจ้าทั้งหลายในปางก่อน ก็ทรงข้ามพ้นห้วงทุกข์ไปแล้วด้วยทางนี้ 

ตะริสสะเร เจวะ ตะรันติ โจฆันติ 
ต่อไปในอนาคต และแม้ปัจจุบันนี้ก็ทรงข้ามพ้นห้วงทุกข์ไปด้วยทางนี้เช่นกัน.